It looks like you are using an older version of Internet Explorer. Using an outdated browser makes your computer unsafe. For the best experience on the web, please update your browser or install Google Chrome Frame.
คณะอนุกรรมการ
คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee (“EXCO”))

ณ มิถุนายน 2565 (June 2022) บริษัทมีคณะกรรมการบริหารจำนวน 8 ท่านประกอบด้วย

 ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

  1

นายอารภัฏ สังขรัตน์

ประธานคณะกรรมการบริหาร

  2

นายโก๊ะ สวี อึ้ง

กรรมการบริหาร

  3

นายธีร์ จารุศร

กรรมการบริหาร

  4

นายวิเชษฐ์ พรสินศิริรักษ์

กรรมการบริหาร

  5

นายสิทธิพร ศรกาญจน์

กรรมการบริหาร

  6

นางสาวอารียา กาญจนบัตร 

กรรมการบริหาร

  7

นางกฤษญากุล คงไชย

กรรมการบริหาร

  8

นางสาวขวัญหทัย วินิตนัยภาค 

กรรมการบริหาร

 

 

 

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร 

คณะกรรมการบริหาร เป็นคณะผู้บริหารสูงสุดและเป็นผู้มีอำนาจในกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท โดยหน้าที่การบริหารงาน และขอบอำนาจของคณะกรรมการบริหาร มีดังต่อไปนี้

  1. จัดเตรียมทิศทางการดำเนินธุรกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับแผนงานต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและแผนการเติมโตของธุรกิจในอนาคต
  2. ทบทวนและรับรองแผนงานและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนแผนงานใหม่ๆ รวมทั้ง ข้อตกลงในการลงทุน
  3. ทบทวนและรับรองแผนธุรกิจ และข้อเสนอของหน่วยธุรกิจ
  4. พิจารณาอนุมัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการริเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่
  5. พิจารณาเรื่องต่างๆ ทางการเงินภายในประเทศไทย ที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ รวมทั้งการจัดการเงินทุน
  6. พิจารณา และ/หรือ เข้าร่วมหุ้นส่วนทางธุรกิจ กิจการร่วมค้า การรวมและควบกิจการ
  7. พิจารณาดำเนินการจัดซื้อทรัพย์สิน บริการ และอื่นๆ ตามกรอบอำนาจที่กำหนดไว้
  8.  พิจารณาจำหน่ายทรัพย์สิน และการลงทุนใด ๆ ตามกรอบอำนาจที่กำหนดไว้
  9. พิจารณาปรับโครงสร้างภายใน การยุบรวม หรือการควบรวมหน่วยธุรกิจทั้งในส่วนธุรกิจ และส่วนสนับสนุน
  10. พิจารณาในเรื่องต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับงานด้านทรัพยากรบุคคล รวมถึง การสรรหาบุคคล การเลิกจ้าง การปรับเปลี่ยนงานที่มอบหมาย และอื่นๆ สำหรับพนักงานระดับผู้บริหารอาวุโส และหัวหน้างาน ตามกรอบอำนาจที่กำหนดไว้
  11. ร่วมกำหนดและทบทวนปัจจัยชี้วัดผลการดำเนินงาน เพื่อกำกับดูแลคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของธุรกิจในประเทศไทย
  12. พิจารณากำหนดค่าตอบแทนและค่าชดเชยให้แก่เจ้าหน้าที่อาวุโส และหัวหน้างาน ตามกรอบอำนาจที่กำหนดไว้
  13. พิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มเมย์แบงก์ กิมเอ็ง อันมีผลกระทบกับการบริหารงานของบริษัทฯ
  14. พิจารณาและกำกับดูแล หรือกำหนดแนวทางในการแก้ไข สำหรับการตรวจสอบของทั้งฝ่ายตรวจสอบภายในและฝ่ายตรวจสอบภายใน
  15. พิจารณาการกำหนดแผนการประชาสัมพันธ์ และ/หรือ แผนงานด้านการตลาด ตามกรอบอำนาจที่กำหนดไว้
  16. ควบคุม ดูแล คณะกรรมการอื่นใด ตามข้อกำหนดในการจัดตั้งคณะกรรมการชุดนั้นๆ
  17. ดำเนินการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

 

ทั้งนี้การมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมการบริหารจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและระเบียบวาระต่างๆที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯและต้องไม่อนุมัติรายการใดๆที่ตนเองหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทฯหรือบริษัทย่อยและจะต้องเปิดเผยรายการดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา

 

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารดังกล่าวเป็นไปตามการมอบอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555

 

การอื่นใดนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นคณะกรรมการบริหารไม่สามารถกระทำได้เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นคราวๆไป

 

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)

คณะกรรมการตรวจสอบมีจำนวน 4 ท่านประกอบด้วย

ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1.   

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย

ประธานคณะกรรมการสรรหาและกรรมการอิสระ

2.    

ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม

กรรมการและกรรมการอิสระ

3.    

นายฮานส์ โจฮาน แพทริก แซนดิน

กรรมการ

4.

นายริคาร์โด นิกานอร์ จาซินโต

กรรมการ


หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. สอบทานให้บริษัท มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอโดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปีคณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯก็ได้
  2. สอบทานให้บริษัท มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผลและพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายเลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
  3. สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์
  4. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯและพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีโดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือความเพียงพอของทรัพยากรและปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้นรวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯรวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
  6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วยเช่นทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหารทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯในรายงานสำคัญๆที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนดได้แก่บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารเป็นต้น
  7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบรายการดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
    • ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทฯ ถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
    • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ
    • เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทฯเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง
    • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
    • รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าจ้างค่าตอบแทน (Nomination and Remunernation Committee)

คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าจ้างค่าตอบแทน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้    

   ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

  1.    

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย

ประธานคณะกรรมการสรรหาและกรรมการอิสระ

  1.     

ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม

กรรมการและกรรมการอิสระ

  1.     

นางฮามิดา บินติ มอริส

กรรมการ

  1.     

นายฮานส์ โจฮาน แพทริก แซนดิน

กรรมการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าจ้างค่าตอบแทน  

  1. ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการใหม่หรือสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  2. กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการบริษัทฯหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
  3. กำหนดนโยบายของบริษัท เกี่ยวกับการว่าจ้างหรือการกำหนดค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างหรือกรรมการของบริษัทฯรวมทั้งกำหนดและพิจารณาระดับของเงินเดือนค่าจ้างเงินให้การช่วยเหลือต่างๆรวมตลอดถึงการดำเนินการใดๆในเรื่องค่าจ้างหรือเงินเดือนในฐานะที่เป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือฝ่ายบริหาร

    นอกจากนี้คณะกรรมการค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจะมีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

    • กำหนดการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนโดยวิธีการที่เป็นธรรมและชัดเจน
    • พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับค่าจ้างค่าตอบแทนในรูปแบบใดๆแก่ผู้บริหารตามความเหมาะสมรวมทั้งการจ่ายโบนัสหรือการให้ค่าตอบแทนเป็นหุ้นแก่ผู้บริหารเป็นต้น
    • ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างรูปแบบวิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นให้แก่พนักงาน

    ประธานคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้ข้อมูลใดๆแก่ที่ปรึกษาภายนอกที่ได้ว่าจ้างเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพการจ้างของตลาดโดยอิสระ

    คณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจะเป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายในการจ้างนักวิจัยอิสระจากภายนอกดังกล่าวรวมทั้งจะเป็นผู้พิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างหรือค่าตอบแทนตามระยะเวลาที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง

    คณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจะเป็นผู้กำหนดฐานค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่จะเพิ่มขึ้นรวมทั้งกำหนดนโยบายโดยรวมในเรื่องดังกล่าวโดยจะรายงานโดยตรงไปยังคณะกรรมการของบริษัทฯรวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับระดับอัตราค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่จะจ่ายแก่ผู้บริหารอาวุโส

    ทั้งนี้คณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างจะรับฟังข้อเสนอแนะจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยและคณะกรรมการค่าจ้างจะเสนอข้อแนะนำต่างๆเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯให้ความเห็นชอบ

คณะกรรมการอื่น

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance Committee)

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 

No

Name

Title

1. 

ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม

ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกรรมการอิสระ

2.

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย

กรรมการอิสระ

3.

นางฮามิดา บินติ มอริส

กรรมการ

4.    

นายฮานส์ โจฮาน แพทริก แซนดิน

กรรมการอิสระ

5.

นายริคาร์โด นิการ์นอร์ จาซินโต    

กรรมการอิสระ

6.

นายอารภัฏ สังขรัตน์             

กรรมการ

 

กำหนดหลักการการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯและจรรยาบรรณของกรรมการผู้บริหารและพนักงานหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  1. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามหลักการการกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของกรรมการผู้บริหารและพนักงานพร้อมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อมีการปฏิบัติที่ดีขึ้น
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้กรรมการผู้บริหารและพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการและตระหนักถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดไว้
  3. กำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติในรายงานประจำปี

 

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Management Risk Committee)
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

  No

Name

Title

  1.   

นายนายอารภัฎ สังขรัตน์

ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  2.    

นายโก๊ะ สวี อึ้ง

กรรมการ

  3.    

นายสิทธิพร ศรกาญจน์

กรรมการ

  4.    

นายวิเชษฐ์ พรสินศิริรักษ์

กรรมการ

  5.

นายธีร์ จารุศร

กรรมการ

  6.

นางกฤษญากุล คงไชย 

กรรมการ

  7.

นางวิภาวดี เลิศศรีสุริยะ                       

กรรมการ

  8.

นางสาวอารียา กาญจนบัตร               

กรรมการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  1. ดำเนินการ และปฏิบัติตามนโนบาย ของกลุ่มบริษัทเมย์แบงก์ (Maybank Group) และของกลุ่มบริษัทเมย์แบงค์ (Maybank Group)
  2. ให้คำแนะนำผู้บริหารระดับสูงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยรวมไปถึงด้านบริหารความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์และการกำกับดูแล (Regulatory Risk Compliance) และความเสี่ยงการบริหารจัดการทุน (Capital Management)
  3. ทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ตลอดจนการการสร้างกลไกลการตรวจสอบความเสี่ยง แลรรายงานผลการตรงสอบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ทั้งหมด
  4. เป็นหน่วยงานอิสระในการประเมิน และรายงานให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด (Stakeholders) ในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง และการประเมินผลความเสี่ยงของบริษัทฯและ/ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  5. เพื่อประเมิน แสดงความคิดเห็น และให้คำแนะนำที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับความคิดริเริ่ม และข้อเสนอแนะในกระบวนการบริหารความเสี่ยง จากกลุ่มบริษัทเมย์แบงค์ (Maybank Group)  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
  6. เพื่อเตรียมการ จัดหา การควบคุมและกำกับดูแลความเสี่ยงของธุรกิจประเภทต่างๆภายในบริษัทฯ
  7. ประเมิน เห็นชอบ และให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการ Group Management Risk Committee (GMRC) เพื่อขออนุมัติในเรื่องการพัฒนาปรับปรุง และ/ หรือการริเริ่มดำเนินการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และ/หรือบริการภายในบริษัทฯ
  8. ประเมิน ทบทวน ตรวจสอบ อนุมัติ และแนะนำต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และหรือ คณะกรรมการ GMRC ในเรื่องการอนุมัติสินเชื่อ และการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำการตัดสินใจ และอนุมัติสินเชื่อ (โดยทั้งนี้ไม่รวมไปถึงการอนุมัติทางด้านการเงิน)

ติดต่อเรา


หัวข้อที่สอบถาม
*CAPTCHA
This question is to prevent automated spam submissions. Entries are not case sensitive.