It looks like you are using an older version of Internet Explorer. Using an outdated browser makes your computer unsafe. For the best experience on the web, please update your browser or install Google Chrome Frame.
ขั้นตอนการเปิดบัญชีออนไลน์ด้วยการยืนยันตัวตนผ่าน NDID
ยกระดับการเปิดบัญชี

Some descriptionSome description

การเปิดบัญชีของบริษัท

การเปิดบัญชีของบริษัท

การเปิดบัญชีของบริษัท จะมี 2 ช่องทาง คือ

1. การเปิดบัญชีแบบพบหน้าลูกค้า (Face-to-Face)

การเปิดบัญชีที่พบลูกค้า และต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงของลูกค้า และผู้รับมอบอำนาจของลูกค้าทุกราย มาเสียบเข้ากับเครื่องอ่านบัตร (card reader) เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลจากชิพ (Chip) ในบัตรว่า ตรงกับข้อมูลหน้าบัตร

รวมถึงต้องทำการเปรียบเทียบใบหน้าของลูกค้ากับรูปถ่ายบนหน้าบัตรและรูปถ่ายที่ได้จากชิพว่า ตรงกันทั้งหมดหรือไม่ ขั้นตอนข้างต้นเราเรียกสั้นๆ ว่าการ Dip chip 

ซึ่งทางฝ่ายธุรการได้ทำการจัดส่งเครื่องอ่านบัตรให้แต่ละสาขา เพื่อใช้สำหรับให้บริการที่สำนักงานสาขา และที่ Marketing Admin สำหรับให้บริการที่สำนักงานใหญ่ 

 ข้อดีของการทำ Dip chip

  • ป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่อาจทำให้การปลอมข้อมูลบนหน้าบัตรประชาชน  ทำได้ง่าย และสังเกตความผิดปกติได้ยาก
  • สามารถตรวจสอบความผิดปกติของเอกสาร หรือลูกค้าได้ทันที เนื่องจากระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์กับกรมการปกครอง

2. การเปิดบัญชีแบบไม่พบหน้าลูกค้า (Non Face-to-Face)

ต้องเปิดบัญชีผ่านช่องทาง E-Open เท่านั้นการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล กับ  NDID (National Digital ID)  ผ่านบุคคลที่ 3 ซึ่งปัจจุบันคือธนาคารต่างๆ เป็นผู้ให้บริการ

โดยลูกค้าต้องสมัครใช้บริการ Application Mobile banking ของธนาคารนั้นๆ (สามารถศึกษาขั้นตอนการทำ NDID ของธนาคารแต่ละแห่งได้ตามคู่มือของธนาคารนั้นๆ ซึ่งจะมีคู่มือแอปพลิเคชั่นของธนาคารเกือบครบทุกแห่ง)

*** สำคัญ  

  • การส่ง Application ทางไปรษณีย์ให้กับลูกค้า แล้วให้ลูกค้าส่งกลับมาจะไม่สามารถทำได้
  • สำหรับการเปิดบัญชีสำหรับลูกค้าต่างชาติ ลูกค้าจะต้องทำการยื่นเอกสารที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ (Notary Public) เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนแทนการ Dip chip
  • ลูกค้าเปิดบัญชีผ่าน e-open จะไม่สามารถดำเนินการมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นได้  

ข้อดีของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

  • ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ด้วยการใช้ระบบดิจิทัล พิสูจน์และระบุตัวตน
  • สะดวก ทำให้เปิดบัญชีออนไลน์ต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทเมื่อไหร่ก็ได้
  • ปลอดภัยในการใช้บริการ ด้วยมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยระดับสูงตามมาตรฐานสากล  
  • ลดการใช้กระดาษ           
เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดบัญชี e-Opening

เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดบัญชี e-Opening 

สำหรับ  บัญชี Cash Balance และ บัญชีกองทุนทั่วไป (ยกเว้นกองทุนประเภทลดหย่อนภาษี)

  1. สมัครใช้บริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล หรือบริการNDID กับธนาคารต่างๆที่ลูกค้ามีบัญชีออมทรัพย์
  2. บัตรประชาชนตัวจริง
  3. ภาพถ่ายลายเซ็น
  4. หน้าBook bank
  5. ถ่ายรูปยืนยันตัวตน

 

หมายเหตุ การเปิดบัญชีe-Opening  สำหรับบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ที่มีอายุ ระหว่าง20-60ปี

สมัครเปิดบัญชีหุ้น และ กองทุน e-Opening   คลิ๊กเลย    https://oacc.settrade.com/e-open-account/landing?brokerId=042

NDID คืออะไร / วิธีการสมัคร NDID กับแต่ละธนาคาร

NDID  คืออะไร

NDID คือ ตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ การสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา หรือสำนักงาน เพื่อทำการแสดงตนสำหรับสมัครบริการ

NDID อ่านว่า N-D-I-D (เอ็น ดี ไอ ดี) ถ้าเป็นบริษัทเราจะเรียกว่า National Digital ID Co., Ltd. หรือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด

และเนื่องจากชื่อบริษัทเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไป ทางคณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้ตั้งชื่อ N-D-I-D (เอ็น ดี ไอ ดี) เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน

ในการสื่อสารออกไปวงกว้าง เมื่อผู้ใช้ไปสมัครเปิดบริการ NDID Services ยังผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ Identity Provider (IDP) ก็ให้เป็นอันรู้กันว่ามาสมัครเข้าระบบ NDID (Onboarding NDID with any IDP)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จาก Website NDID  ได้ที่    https://www.ndid.co.th/

 

IDP  มีธนาคารอะไรบ้าง  และวิธีการสมัคร NDID  ของธนาคารต่างๆ 

บริการลงทะเบียน NDID โดยในระยะแรก ผู้ให้บริการลงทะเบียน NDID จะเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย   หรือ IDP   Identity  Provider ในกลุ่มธนาคาร   ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ไทยดังนี้

1.    ธนาคารไทยพาณิชย์

2.    ธนาคารกรุงเทพ

3.    ธนาคารกสิกรไทย

4.    ธนาคารทหารไทย ธนชาต

5.    ธนาคารเกียรตินาคิน

6.    ธนาคารซีไอเอ็มบี

7.    ธนาคารอาคารสงเคราะห์

8.    ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

9.    ธนาคารออมสิน

 

การลงทะเบียนสมัคร NDID สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง

ขึ้นกับผู้ให้บริการ รายละเอียดท่านสามารถตรวจสอบกับธนาคารที่ท่านใช้บริการ ได้แก่

1.      เคาน์เตอร์ธนาคาร

  • ไปที่เคาน์เตอร์ธนาคารสาขาที่ให้บริการ
  • แจ้งความประสงค์ต่อพนักงานธนาคารว่าต้องการจะลงทะเบียน NDID พร้อมยื่นบัตรประชาชน
  • เจ้าหน้าที่ธนาคารจะแนะนำขั้นตอนในการลงทะเบียน เช่น กรอกข้อมูลลงในระบบ ถ่ายรูป รับเงื่อนไขการใช้บริการระบบ และ/หรือ เปิดใช้บริการ mobile banking ที่ผูกกับ NDID ของท่าน เป็นต้น

2.      แอพพลิเคชั่นของธนาคาร

  • เข้าไปที่แอพพลิเคชั่นของธนาคารที่ท่านเลือก
  • กดเลือก ‘NDID’
  • ระบบจะทำการตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูล และแนะนำขั้นตอนในการลงทะเบียน เช่น กรอกข้อมูลเพิ่มเติม ถ่ายรูป และรับเงื่อนไขการใช้บริการระบบ เป็นต้น

 

การสมัคร NDID ของธนาคารต่างๆ

 

ธนาคารกรุงเทพ

https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Digital-Banking/NDID

https://www.youtube.com/watch?v=Hdvddw6XOh8 

 

ธนาคารไทยพาณิชย์

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/other-services/ndid.html

https://www.youtube.com/watch?v=wdFvLmnD1J0

 

ธนาคารกสิกรไทย

https://kasikornbank.com/th/personal/Account/Pages/NDID.aspx

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

https://www.krungsri.com/th/personal/banking-services/NDID

 

CIMB

https://www.cimbthai.com/th/personal/ways-to-bank/ndid-authentication-service.html

 

KIATNAKIN PHATRA

https://bank.kkpfg.com/th/personal-banking/digital-banking/kkp-ndid

 

ธนาคารทหารไทยธนชาต

https://www.ttbbank.com/th/NDID

 

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

https://www.ghbank.co.th/electronic-services/new-normal-services/ndid

 

 

เอกสาร FAQ