It looks like you are using an older version of Internet Explorer. Using an outdated browser makes your computer unsafe. For the best experience on the web, please update your browser or install Google Chrome Frame.
งานวาณิชธนกิจ

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านวาณิชธนกิจชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisory Services) และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Securities Underwriting Services) โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในสายงานเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของทางการ ทําให้บริษัทเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพของงานบริการด้านวาณิชธนกิจของบริษัทได้เป็นอย่างดี การให้บริการงานที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทครอบคลุมการให้คําปรึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแก่บริษัททั่วไปและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมุ่งเน้นการให้บริการโดยทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการให้คําปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

งานที่บริษัทให้บริการในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินรวมถึง

1) การออกและเสนอขายหลักทรัพย์

2) การควบรวมและซื้อขายกิจการ

3) ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในการให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำรายการประเภทต่างๆ ของบริษัทจดทะเบียน

4) การปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการ

5) ที่ปรึกษาทางการเงินอื่นๆ

สำหรับการให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัท รวมถึงการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน ตราสารหนี้ (หุ้นกู้และตั๋วแลกเงิน) หน่วยของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IFF) และของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ซึ่งก่อนที่บริษัทจะรับจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทลูกค้ารายใด บริษัทจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (Securities Issuer) สภาวะตลาดเงินและตลาดทุนโดยรวม ความสนใจในการลงทุนของผู้ลงทุน รวมถึงความสามารถในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของทางบริษัท

ความสำเร็จที่ผ่านมา

 

 Some description

 

Some description

 

การจดทะเบียนหลักทรัพย์

1. สถานะ

บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ

เช่นเดียวกับ SET

2. ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(
หลังการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)

>= 300 ลบ.

>= 20 ลบ. และ < 300 ลบ.

3. การกระจายการถือหุ้นรายย่อย
(
หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)*
-
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย
-
จำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย

- >= 1,000 ราย
- 25%
และอาจผ่อนผันให้บริษัทที่มีทุนชำระแล้ว >= 10,000 ลบ.

>= 300 ราย
>= 20%
ของทุนชำระแล้ว

4. การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
-
การได้รับอนุญาต

จำนวนหุ้นที่เสนอขาย

-
ทุนชำระแล้ว < 500 ลบ 

- ทุนชำระแล้ว > 500 ลบ. 



-
วิธีการเสนอขาย

- ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจาก ก.ล.ต.
(
ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ)

- >= 15% ของทุนชำระแล้ว

- > 10%
ของทุนชำระแล้ว หรือ 75 ลบ. แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

-
ผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์


เช่นเดียวกับ SET



>= 15%
ของทุนชำระแล้ว 

>= 15% ของทุนชำระแล้ว 



เช่นเดียวกับ SET

5. ผลการดำเนินงาน

- มีผลการดำเนินงานต่อเนื่อง > 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่ชุดเดียวกัน > 1 ปีก่อนยื่นคำขอ 
-
กำไรใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดรวมกัน >= 50 ล้านบาท และ ในปีล่าสุดต้องมีกำไร > 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ

- การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่ชุดเดียวกัน > 1 ปีก่อนยื่นคำขอ และ
ทางเลือกที่ 1: มีผลการดำเนินงานต่อเนื่อง >=2 ปี และมีกำไรสุทธิในงวดล่าสุดและงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ

หรือ

ทางเลือกที่ 2: มีผลการดำเนินงานต่อเนื่อง >=1 ปี และมีมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market capitalization) >=1,500 ล้านบาท

6. ฐานะการเงินและสภาพคล่อง

ในส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท

ในส่วนของผู้ถือหุ้น
ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

7. การบริหารงาน 
-
ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม 

- กรรมการตรวจสอบ

- ขอบเขต อำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ

- มีผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.

- แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ 3 ท่าน

- มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ
คณะกรรมการก.ล.ต.

เช่นเดียวกับ SET

8. การกำกับดูแลกิจการ 
และการควบคุมภายใน

มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด และให้ผู้ยื่นคำขอจัดทำและนำส่งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบตามแบบที่ ต.ล.ท กำหนดจัดให้มีระบบการควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.

เช่นเดียวกับ SET

9. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ คณะกรรมการ ก.ล.ต.

เช่นเดียวกับ SET

10. ข้อบังคับบริษัท

ข้อบังคับของบริษัทและบริษัทย่อยมีข้อกำหนดครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.

เช่นเดียวกับ SET

11. งบการเงินและผู้สอบบัญชี

- มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ คณะกรรมการ ก.ล.ต. 
-
ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.

เช่นเดียวกับ SET

12. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

13. ที่ปรึกษาทางการเงิน

ดูแลไปอีก 1 ปีหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

เช่นเดียวกับ SET

เกณฑ์ Silent Period

 

SET และ MAI

ผู้เข้าข่าย

Strategic Shareholders **

จำนวนหุ้น

หุ้นจำนวน 65% ของทุนชำระแล้วก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน

ระยะเวลา

1 ปี 6 เดือนหลังจากการเข้าจดทะเบียน และจะมีการ
ปลดหุ้นใน silent period 25% ทุก 6 เดือน

หมายเหตุ : 
* ผู้ถือหุ้นที่มิได้เป็น Strategic Shareholders 
** Strategic shareholders รวมถึง: รัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการ / กรรมการ ผู้บริหาร / ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้ว / ผู้ถือหุ้นที่ต้องนำฝากหุ้นใน Silent Period