AUTO TRADE
ตั้งเงื่อนไขในการส่งคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติ

ฟังก์ชั่นใหม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งคำสั่งผ่านโปรแกรม eFin Trade Plus
โดยระบบจะทำการส่งคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ
ตามเงื่อนไขที่นักลงทุนสามารถกำหนดได้เองล่วงหน้า





นักลงทุนสามารถเลือกเงื่อนไขให้ Auto Trade
ทำงานได้เบื้องต้นโดยสามารถเลือกเงื่อนไขได้ดังนี้


• ราคาตลาดถึงเป้าหมายตามราคาที่ตั้งใจไว้
• ราคาตลาดเทียบกับค่า SMA/Break High(HHV) / Break Low (LLV)
• การส่งคำสั่งโดยใช้หลัก Money Management ควบคุมการขาดทุน
• สร้างเงื่อนไขการขายแบบกลุ่ม ได้สูงสุด 3 เงื่อนไขต่อครั้ง
• สร้างคำสั่งซื้อหุ้นล่วงหน้าสม่ำเสมอแบบ Dollar Cost Average
• สร้างคำสั่งซื้อสะสมหุ้นล่วงหน้าโดยมีราคาที่ตั้งใจไว้แบบ Pricing Zone

สอนการใช้งานฟังก์ชัน Auto Trade
บนโปรแกรม efin Trade plus


   

    



ตัดสินใจซื้อขายจากข้อมูล
สัญญาณเทคนิค
ราคาตลาด


วางแผนการลงทุน
สร้างกลยุทธ์การลงทุน
ด้วยตัวคุณเอง

ประหยัดเวลา
ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ
อีกต่อไป

ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
การใช้โปรแกรม
AUTO TRADE


  









   1. ลูกค้าสร้างกลยุทธ์เงื่อนไขการซื้อ/ขายหุ้น
   2. ยืนยันการส่งคำสั่งซื้อ/ขายตามเงื่อนไขที่สร้างในข้อ 1
   3. เมื่อเงื่อนไขในข้อ 1 เป็นจริงแล้ว (Order Trigger) ระบบถึงจะทำการส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปตลาดหลักทรัพย์โดยอัตโนมัติ






  • การทำงาน Auto Trade
  • Cut loss หยุดขาดทุน
  • Take Profit ล็อคกำไร
  • คำสั่งขายแบบกลุ่ม
  • DCA การซื้อแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน
  • MM : Money management

หลักการทางานของระบบ Auto Trade


1.  กรอบการลงทุนในหลักทรัพย์สำหรับการใช้ระบบส่งคำสั่งอัตโนมัติ Auto Trade สามารถใช้ได้ใน
     หุ้น ทุกตัวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2.  Order ที่ส่งมาจากระบบส่งคำสั่งอัตโนมัติ Auto Trade จะทำการส่งออก Trigger ครั้งเดียว
     หลังจากนั้นให้เข้าใจว่าเป็นการส่งคำสั่งแบบปกติ หากจับคู่ไม่หมดจะตั้งรอ pending ไว้จนกว่าตลาดจะปิด
     เมื่อตตลาดปิดแล้ว Order นั้นจะถูก clear ทิ้ง ณ สิ้นวัน
3.  ยกตัวอย่างการส่งแบบ Limit price และ MP ใน Function Auto Trade Type 1, 2 โดยมีตัวอย่าง Order book ดังนี้

     

• หากตั้ง Auto Trade ให้ทำการส่งคำสั่งแบบ limit price ระบบจะส่งราคาตามที่กำหนด (ไม่เกิน 3 ช่อง Spread)
          • กรณีซื้อ ส่งต่่ำสุดได้ที่ 10.20 บาท
          • กรณีขาย ส่งสูงสุดได้ที่ 10.80 บาท

• หากตั้ง Auto Trade ให้ทำการส่งคำสั่งแบบ MP ระบบจะส่งราคา โดยแยกเป็นกรณีดังนี้
          • กรณี ซื้อ ระบบส่งที่ 10.80 บาท และระบบจะจับคู่ราคาที่ดีที่สุดไล่ขึ้นไปครับ เริ่มจับคู่ที่ 10.50 , 10.60
            10.70 และ 10.80 (การทำงานส่งราคาสูงสุดไม่เกิน 3 spread)
          • กรณี ขาย ระบบส่งที่ 10.20 บาท และระบบจะจับคู่ราคาที่ดีที่สุดไล่ลงไปครับ เริ่มจับคู่ที่ 10.50 , 10.40
            10.30 และ 10.20 (การทำงานส่งราคาสูงสุดไม่เกิน 3 spread)

Cut Loss เพื่อป้องกันการขาดทุน

คำว่า Cut Loss ประกอบไปด้วยคำสองคำคือ 
   Cut   แปลว่า  ตัด ทำให้ขาดออกจากกัน ทำให้หมดความต่อเนื่อง
   Loss  แปลว่า สูญเสีย หายไป ขาดทุน 
เมื่อสองคำนี้มารวมกัน ก็มีความหมายถึงการ "ขายเพื่อต้ด หรือ หยุดการขาดทุนที่จะเกิดขี้นต่อไป"

ข้อดีของการขายหุ้นเพื่อตัดหรือหยุดการขาดทุนที่มากขึ้น
"หยุดการขาดทุนที่มากขึ้น ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้" (และก็อาจจะไม่เกิด) ในกรณีที่เมื่อขายไปแล้ว และหุ้นปรับราคาลดลงต่อไป
 นักลงทุนก็จะคงดีใจที่ได้ขายหุ้นนั้นออกไป เพราะว่าหากถืออยู่เอาไว้ก็คงจะต้องขาดทุนมากกว่าจุดที่ได้ขายออกไปแล้วนั้น

ตัวอย่าง
"หากราคาหุ้นลดลงและขาดทุน 5% ให้ทำการขายตัดขาดทุน" ดังนั้น ขาย : เมื่อ ราคาปัจจุบัน < ราคาหุ้นในพอร์ตกี่บาท



        
จากภาพ หุ้น JAS

หากเราเข้าซื้อที่ราคา 5.65 บาท โดยตั้งตัดขาดทุนไว้ที่ 5%
ดังนั้น เราจะตัดขาดทุนที่ราคา 5.35 บาท

ตัวอย่าง
เมื่อราคา JAS ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5.45 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา 5% ระบบจะส่งคำสั่งขายหุ้น JAS 1,000 หุ้น ที่ราคา 5.33 ทันที



•  Buy คือ ปุ่มส่งคำสั่งซื้อ
•  Sell คือ ปุ่ม ส่งคำสั่งขาย
•  Symbol คือ ชื่อย่อของหลักทรัพย์ ซึ่งระบบจะมีตัวช่วย Auto Fill Symbol ทำให้สะดวกมากขึ้น
•  Order Conditions คือ เงื่อนไขในการตั้งค่า

     1.  Last >=   คือ   Last Sale มากกว่าหรือเท่ากับ ค่าในช่อง Value
     2.  Last <=   คือ   Last Sale น้อยกว่าหรือเท่ากับ ค่าในช่อง Value
     3.  Last >= SMA(Day)   คือ   Last Sale มากกว่าหรือเท่ากับ SMA(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
     4.  Last <= SMA(Day)   คือ   Last Sale น้อยกว่าหรือเท่ากับ SMA(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
     5.  Last > Break High(Day)   คือ   Last Sale มากกว่า Break High(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
     6.  Last < Break High(Day)   คือ   Last Sale น้อยกว่า Break High(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
     7.  Last > Break Low(Day)   คือ   Last Sale มากกว่า Break Low(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
     8.  Last < Break Low(Day)   คือ   Last Sale น้อยกว่า Break Low(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period

Take Profit เพื่อปกป้องกำไร

หมายถึง จุดทำกำไร คือการที่เรารอให้ราคามาถึง ณ จุดๆ หนึ่งโดยที่ราคานั้นเป็นจุดที่ทำให้เราได้กำไรตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
จากนั้นก็ปิดทำกำไรที่ราคา ณ จุดนั้น และเมื่อปิด Take Profit ไปแล้วและกำไรก็เข้ามาอยู่ใน Capital ของพอร์ตโดยไม่ว่าราคาจะไปในทิศทางใดก็
ย่อมมีมีผลกระทบกับพอร์ตการลงทุนของเราเนื่องจากเราได้ออกจากตลาด ณ จุดนั้นไปแล้วนั่นเอง สรุป Take Profit คือ ทำกำไรในจุดที่เหมาะสม
ที่เราพอใจด้วยเหตุผลที่เหมาะสม

ตัวอย่าง
" หากราคาหุ้นขึ้น 10% ให้ขายทำกำไรหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนออกมา" ดังนั้น ขาย : เมื่อ ราคาปัจจุบัน > ราคาหุ้นในพอร์ต



จากภาพ หุ้น TRUE

หากเราเข้าซื้อที่ราคา 9.65 บาท โดยพอใจกำไรที่ 10% 
ดังนั้น เราจะขายทำกำไรที่ราคา 10.6 บาท


ตัวอย่าง
เมื่อราคา TRUE สูงกว่าหรือเท่ากับ 10.4 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา 10% ระบบจะส่งคำสั่งขายหุ้น ITD 1,000 หุ้น ที่ราคา 10.6 ทันที



   1.   Last >=   คือ   Last Sale มากกว่าหรือเท่ากับ ค่าในช่อง Value
   2.   Last <=   คือ   Last Sale น้อยกว่าหรือเท่ากับ ค่าในช่อง Value
   3.   Last >= SMA(Day)   คือ   Last Sale มากกว่าหรือเท่ากับ SMA(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
   4.   Last <= SMA(Day)   คือ   Last Sale น้อยกว่าหรือเท่ากับ SMA(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
   5.   Last > Break High(Day)   คือ   Last Sale มากกว่า Break High(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
   6.   Last < Break High(Day)   คือ   Last Sale น้อยกว่า Break High(Day) โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
   7.   Last > Break Low(Day)    คือ   Last Sale มากกว่า Break Low(Day)  โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period
   8.   Last < Break Low(Day)    คือ   Last Sale น้อยกว่า Break Low(Day)  โดยค่า  (Day) นำมาจากช่อง Period

คำสั่งขายแบบกลุ่ม : การตั้งชุดเงื่อนไข การขาย ล่วงหน้า

การตั้งเงื่อนไข ขาย ล่วงหน้า สามารถตั้งเงื่อนไขได้สูงสุด 3 เงื่อนไขต่อครั้ง  **ส่งคำสั่งขายได้อย่างเดียวเท่านั้น**

ตัวอย่าง 
ลูกค้าถือ KTB อยู่ต้นทุน 17 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ต้องการขายทำกำไรที่ราคาเป้าหมาย 18 บาท โดยตั้งใจว่าจะตัดขาดทุน
หากราคาตลาดต่ำกว่า 16 บาทและให้ขายจากสัญญาณขายทางเทคนิค เมื่อราคาตลาดตำกว่าค่า Low 14 วัน 
โดยหากเงื่อนไขใดเป็นจริงก่อน ให้ยกเลิกเงื่อนไขที่เหลือด้วย

Order Conditions



ตัวอย่างการตั้งเงื่อนไข

1.   Take Profit     (ขายที่ราคาเป้าหมาย) เมื่อ Last มากกว่าเท่ากับ 18 บาท ให้ส่งคำสั่งขาย MP ทันที
2.   Trailing Stop  (ขายจากสัญญาณทางเทคนิคที่ขยับราคาขึ้น) สร้างเงื่อนไขจากเส้น Break Low(LLV) 
                             เมื่อราคา Last < LLV (14 วัน) ก็จะส่งคำสั่งขาย MP
3.   Cut Loss         (ขายขาดทุน) เมื่อ Last น้อยกว่า 16 บาท ให้ส่งคำสั่งขาย MP ทันที



ปุ่ม Group Cancel


ทำเครื่องหมายถูกที่ Group Cancel  ระบบทำงานที่เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งก่อน เงื่อนไขอื่นๆที่เหลือจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ


หากไม่ทำเครื่องหมายถูกที่ Group Cancel ระบบจะทำตามเงื่อนไขทั้งหมดจนกว่าจะทำงานครบทั้ง 3 เงื่อนไขหรือคำสั่งหมดอายุ
ตัวอย่างนี้ คือ 180วัน

DCA การซื้อแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน

Dollar Cost Average: การลงทุนระยะยาว โดยทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานดีสะสมไว้ ตามวันเวลาที่ตั้ง งวดละเท่าๆกัน
ในวงเงินที่กำหนด โดยโปรแกรมนี้สามารถตั้งเงื่อนไขการซื้อหุ้นแบบถัวเฉลี่ยได้หลายตัวตามต้องการ


ตัวอย่าง 
ตั้งใจใช้เงินลงทุน 100,000 บาท ซื้อหุ้น CPF สะสมไว้ โดยให้ทำการส่งคำสั่งซื้อทุกวันจันทร์ (Every Week)
ภายในระยะเวลา 3 เดือน (16/7/2558 – 16/10/2558)

1.  เข้าเมนู Auto Trade เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายอัติโนมัติแบบมีเงื่อนไข
2.  เลือกแถบเมนู DCA (Dollar Cost Average)
3.  คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างเงื่อนไข Auto Trade แบบ DCA
4.  ใช้คำสั่ง DCA : เมื่อต้องการทยอยซื้อสะสมหุ้น ในจำนวนงวดละเท่าๆกัน ตามวงเงินที่กำหนด


ส่วนของหน้าจอ
   •   Symbol คือ ชื่อย่อของหลักทรัพม์ ซึ่งระบบจะมีตัวช่วย Auto Fill Symbol ทำให้สะดวก
   •   Start Date คือ เวลาเริ่มต้นที่จะให้ดำเนินการส่งคำสั่ง
   •   End Date คือ เวลาสิ้นสุดที่จะให้ดำเนินการส่งคำสั่ง
   •   Budget คือ จำนวนวงเงิน
   •   Timing คือ ช่วงเวลาที่จะให้ดำเนินการส่งคำสั่ง

**** ซึ่งการกำหนดช่วงวันที่ในการส่งคำสั่ง หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
ให้ดูที่หัวข้อการส่งคาสั่ง DCA แบบกรณีพิเศษ ภายในคู่มือ****




5.   เมื่อกดปุ่ม Simulate ระบบจะแสดงวันที่ที่ระบบจะทำการซื้อหุ้น CPF อัติโนมัติ โดยใช้ราคา Open 2
      (ราคาเปิดของหุ้น CPFในช่วงบ่าย) ในการส่งคำสั่งซื้อ ตาม Budget ที่ได้เฉลี่ยไว้ในแต่ละงวด
6.   ใส่ Pin และกด Send เพื่อ Create Order แบบ DCA (Dollar Cost Average )


การใช้งาน Auto Trade จาก MM : การควบคุมการขาดทุน


การควบคุมการขาดทุน MM : Money management คือ วิธีที่บริหารเงินลงทุนที่จะทำให้สามารถลงทุนได้อย่างยั่งยืน
โดยเป็นการป้องกันการขาดทุน โดยนักลงทุนสามารถกำหนด % การขาดทุนที่ยอมรับได้ สำหรับการซื้อครั้งนั้น
โปรแกรมจะคำนวณหาจำนวนหุ้นที่ซื้อได้ โดยที่แม้จะขาดทุน ก็จะไม่มีทางขาดทุนเกินกว่า %give up ที่นักลงทุนกำหนดไว้ 



การส่งคำสั่งโดยใข้หลัก MM : Money Management
กรณีซื้อ
ต้องใส่ค่า Price, Stop Price, %Give Up ให้ครบทั้ง 3 ค่า ระบบจึงจะคำนวณ Volume และ Loss (Baht)
ออกมาให้โดนอัตโนมัติ

ตัวอย่าง
นักลงทุนต้องการลงทุนหุ้น KTB มีเงินลงทุน 200,000
ต้องการซื้อหุ้น KTB โดยต้องการซื้อที่ 22.50 ตั้งใจว่าสามารถขาดทุนได้ 1% ของเงินทั้งพอร์ต

1.   กดปุ่ม Buy ใส่ชื่อหุ้น KTB ระบุราคาที่ต้องการซื้อ 22.5 บาท
2.   ใส่ราคา Stop Price (ราคาที่คิดว่าจะ Cut loss) ควรเป็นราคาที่ได้จากสัญญาณขายทางเทคนิคในตัวอย่างนี้ใช้ .LLV (5 Days)
      ที่ราคา 21.8 บาท
3.   ระบุ % Give up คือ 1% ซึ่งหมายถึง ในการซื้อครั้งนี้เราสามารถขาดทุนได้ 1 % ของ พอร์ต (Equity = 200,000 บาท)

4.   จากนั้นระบบจะคำนวน Loss และ Volume อัตโนมัติ
      •   คือ ในการส่งคำสั่งซื้อออเดอร์นี้
        นักลงทุนจะ รับการขาดทุนได้ Equity x %give up => 200,000 x 1% = 2,000 บาท

      •  คือ จำนวนหุ้น = จำนวนหุ้นที่ยอมรับการขาดทุนในออเดอร์นี้ / ส่วนต่างของราคาที่ลดลง
         => (2000 / (22.5 - 21.8)) = 2,800 หุ้น

5.   คลิก Auto stop loss เพื่อให้ระบบส่งคำสั่ง ขาย ให้อัตโนมัติ ที่ราคา MP หากหุ้นราคาลงมาถึง 21.80 บาท
     (หากไม่คลิก Auto stop loss ระบบจะส่งคำสั่ง)

  • เงื่อนไขที่อาจมีโอกาสซื้อขายไม่ได้
  • เทคนิคการส่งคำสั่ง
  • ข้อควรจำ
  • ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน
  •  Youtube  คลิปสอนการใช้งาน
•   ราคาถึงเงื่อนไขก่อนค่อยส่งคำสั่งไปเข้าคิว จะแพ้คนที่เข้าคิวด้วยระบบปกติ

•   หากมีคนตั้ง Auto Trade เหมื่อนกันเยอะก็ต้องเข้าคิวรอเช่นกัน

•   หุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ หรือสภาพคล่องไมปกติ อาจมีหุ้นไม่มากพอกับปริมาณที่ต้องการ และราคาที่ได้จากการส่งคำสั่งแบบ MP
     อาจจะคลาดเคลื่อนไปจากราคาที่ต้องการ

•   คำสั่ง Auto Trade ที่ยังไม่ executed จะคงอยู่ หากท่านขายหุ้นไปตามปกติจนเหลือจำนวนหุ้นไม่พอตามคำสั่ง Auto Trade
    เมื่อ executed คำสั่งไปจะไม่สามารถ Matched ได้

•   คำสั่ง Auto Trade ก็สามารถยกเลิกได้ ในกรณีที่ยังไม่ executed โดยถูกรายการคำสั่ง Auto Trade
     ค้างส่งได้ที่ View Order > View Auto Trade
•   หากต้องการซื้อด้วยเงื่อนไขราคา Last ต้องส่งคำสั่งแพงกว่า ราคาเงื่อนไขอย่างน้อย 1 ช่องราคา

•   หากต้องการขายด้วยเงื่อนไขราคา Last ต้องส่งคำสั่งถูกกว่า ราคาเงื่อนไขอย่างน้อย 1 ช่องราคา

•   หากต้องการซื้อขายด้วยระบบอ้างอิงสัญญาณเทคนิค Simple Moving Averrage (SMA) และ Break High/Low
     ควรส่งด้วยราคา MP หรือ Market Price เท่านั้น

•   การซื้อขายด้วยราคา MP ผ่านระบบ Auto Trade คือ การซื้อทุกราคาที่ไม่เกิน +3 spread และขายทุกราคาที่ไม่เกิน -3 spread
     โดยซื้อให้ครบตามจำนวนหุ้นที่ต้องการหากได้หุ้นไม่ครบตามจำนวน ระบบจะส่งคำสั่งให้ใหม่อัตโนมัติ ในราคา Last Sale

•    การส่งคำสั่งซื้อ Market Order ทุกรูปแบบ (MP/MO/ML) โปรแกรม efin Trade Plus จะคิดราคาหุ้นที่ซื้อที่ราคา Ceiling
     (+30% จากราคาปิดเมือวาน)ส่งผลให้คำสั่งซื้อนั้นอาจไม่สามารถซื้อได้ (Order Reject) เนื่องจากอำนาจซื้อไม่พอ
•   การส่งคำสั่งด้วย Auto Trade ในรูปแบบปกติ เงื่อนไขนั้นจะอยู่ไปตลอดจนกว่าเราจะไปยกเลิก (สูงสุด 180 วัน) หรือ
     ราคาถึงเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดดังนั้นห้ามลืมเด็ดขาด หากต้องการให้ทำงานแค่วันเดียวต้องเลือก Expire: End Day ด้วย

•   ราคาหุ้นตัวไหนที่ถึงเงื่อนไข แต่ซื้อขายได้จำนวนหุ้นไม่ครบ เมื่อข้ามวันระบบ Auto Trade นั้นจะถือว่าทำงานไปแล้ว
     ดังนั้นนักลงทุนต้องตรวจสอบอีกครั้ง

•   ถึงเงื่อนไขและส่งคำสั่งออกไป 1 ครั้ง และ เมื่อซื้อขายหุ้นนั้นได้แล้วจะแจ้งอีก 1 ครั้ง
     ซึ่งการแจ้งนั้นความช้าเร็วควบคุมไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบ Notificatioของ IOS และ Android

•   สัญญาณเทคนิค Simple Moving Average (SMA) คำนวณราคาเป้าหมายใหม่และ update ทุกครึ่งวัน เช่น
     ถ้าสร้างเงื่อนไขตอนเช้าจะใช้ค่า sma ของเมื่อวาน หากสร้างเงื่อนไขตอนบ่ายจะใช้ค่า sma ของครึ่งเช้า
     เป็นราคาเป้าหมายในการสร้างเงื่อนไข และจะปรับค่าให้อัตโนมัติทุกครึ่งวัน

•   สัญญาณเทคนิค Break High/Low (HHV และ LLV) คำนวณใหม่และ update หลังตลาดปิดทุกวัน เช่น ถ้าสร้างเงื่อนไขวันนี้จะใช้ค่า
     HHV และ LLV ของเมื่อวาน เป็นราคาเป้าหมายในการสร้างเงื่อนไข และจะปรับค่าให้อัตโนมัติทุกวัน
Auto Trade คืออะไร
(เงื่อนไขจะใช้ ราคา กับ ช่วงเวลา)




Auto Trade แตกต่างจาก
Robot Trade อย่างไร




มีความเสี่ยงอะไรบ้างในการใช้
Auto Trade




นักลงทุนแบบไหน ประเภทไหนควรใช้
Auto Trade




ก่อนเริ่มต้นใช้งาน
ต้องทำอย่างไร




วิธีใช้งาน Auto Trade
แต่ละ Type ทำอย่างไร



วิธีใช้งาน Auto Trade
Type 1 ทำอย่างไร




วิธีใช้งาน Auto Trade
Type 2 ทำอย่างไร




วิธีใช้งาน Auto Trade
Type MM (Money Management)
ทำอย่างไร



วิธีใช้งาน Auto Trade
Type DCA (Dollar Cost Average)
ทำอย่างไร

วิธีใช้งาน Auto Trade
Type PZ (Pricing Zone)
ทำอย่างไร

การใช้งานฟังก์ชัน Auto Trade
บนโปรแกรม efin Trade plus
(Full Clip Video)






  

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 999/9 ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 20-21
ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (66) 2658-6300
ข้อตกลงในการใช้เว็บไซต์อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ เงื่อนไขการใช้บริการ
สงวนลิขสิทธิ์ 2553 บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)