It looks like you are using an older version of Internet Explorer. Using an outdated browser makes your computer unsafe. For the best experience on the web, please update your browser or install Google Chrome Frame.
นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น(“นโยบาย AB&C”)

นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น(“นโยบาย AB&C”)

บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำที่มุ่งพัฒนาคุณภาพบริการในทุกด้านเพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทได้แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนต่อสาธารณะ โดยการเข้าเป็นหนึ่งใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” โดยบริษัทได้จัดทำ “นโยบายและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ซึ่งบริษัทกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

 

บริษัทกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานของบริษัททุกระดับชั้น ปฎิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตซึ่งครอบคลุมในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ดำเนินการหรือกระทำการใดๆโดยให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตในการติดต่อทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจส่งผลต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมและขัดแย้งต่อหลักการบริหารจัดการที่ดีรวมทั้งต่อต้านการให้สินบนต่างๆต่อเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกหรือผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทและได้มีการกำหนดบทลงโทษทางวินัยสูงสุดแก่พนักงานที่กระทำความผิดดังกล่าว

 

1. คำนิยาม

การทุจริตคอร์รัปชั่น (Corruption)หมายถึง การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯหรือผลประโยชน์ส่วนตัวและอาจรวมถึงการติดสินบน การทุจริตคอร์รัปชั่นอาจอยู่ในรูปแบบของการเลือกที่รักมักที่ชัง การฉ้อฉล หรือการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจโดยมิชอบ

การติดสินบน (Bribery) หมายถึง การให้สัญญา เสนอ ชักชวน ให้ ยอมรับ หรือได้รับความพึงพอใจไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อเป็นการจูงใจหรือให้รางวัลแก่หรือไม่กระทำการใดๆ

 

2. ความมุ่งมั่นของบริษัท

2.1 บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่า:

  • นโยบายและขั้นตอนที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการกำหนด รักษา และมีการทบทวนเป็นระยะ
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านจริยธรรมและความซื่อสัตย์ภายในบริษัทฯและ
  • หากมีเหตุการณ์ใดๆ เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือการติดสินบนตามที่รายงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำแนะนำและการเยียวยาที่ดีที่สุด รวมทั้งเริ่มดำเนินการทางวินัยต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นตามหลักฐานที่รวบรวมได้

2.2 บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

  • ทบทวนนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นให้เหมาะสมกับธุรกิจและวัฒนธรรมของบริษัทก่อนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  • ทบทวนนโยบายเมื่อมีการปรับปรุงหรือแก้ไขก่อนได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  • สอบทานรายงานวิธีการควบคุมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและประเมินความเสี่ยงของบริษัทภายใต้การคอร์รัปชั่นตามที่ฝ่ายตรวจสอบภายในจัดทำขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีความเสี่ยงต่ำถึงไม่มีคอร์รัปชั่นหรือติดสินบน และวิธีการที่เหมาะสมกับบริษัท ธุรกิจและวัฒนธรรม และ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานยอมรับนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยสมบูรณ์ และบริษัทไม่ยอมรับการติดสินบนอย่างเด็ดขาดและปฏิบัติตามกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

2.3 บทบาทและความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง (Thailand Executive Committee, “TH EXCO”):

ผู้บริหารระดับสูงที่เป็นตัวแทนโดยคณะกรรมการบริหาร (TH EXCO)มีหน้าที่รับผิดชอบ:

  • การสื่อสารข้อกำหนดของ นโยบาย AB&C และ MKET ที่ไม่ยอมให้มีการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นแก่กรรมการ พนักงาน Associated Person (“คู่สัญญา ผู้รับเหมา”) และบุคคลที่สาม
  • สร้างความมั่นใจว่าการนำนโยบาย AB&C ไปใช้อย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไข ตรวจจับ และลดความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • สร้างความมั่นใจว่านโยบาย AB&C มีแนวทางที่ชัดเจน ขั้นตอนการดำเนินการ กระบวนการและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพื่อระบุ ประเมิน ติดตาม จัดการและบรรเทาความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • สนับสนุนให้ใช้ช่องทางการแจ้งเบาะแสที่มีในการรายงานเหตุการณ์การติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลำดับขั้นสำหรับบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการออกแบบ ดำเนินการ และกำกับดูแลการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ นโยบาย AB&C นั้นเหมาะสม
  • การจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอและรับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดของนโยบาย AB&C
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรรมการและพนักงานได้รับการฝึกอบรมและความตระหนักรู้เกี่ยวกับนโยบาย AB&C ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดของนโยบาย AB&C และ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการรายงานความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย AB&C ต่อคณะกรรมการบริษัทตามกำหนดเวลา

2.4 บทบาทและความรับผิดชอบของฝ่ายตรวจสอบภายใน

ฝ่ายตรวจสอบภายในมีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

  • ดำเนินการสอบทานตามแผนการตรวจสอบและรายงานผลการติดตามภายในและการประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และ
  • ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดเป็นระยะๆ เพื่อติดตามหรือตรวจสอบใดๆ

2.5 บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน

พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ ในกรณีที่พนักงานมีข้อกังวลหรือพบเห็นการฝ่าฝืนนโยบายนี้ พนักงานจะต้องรายงานต่อบริษัทผ่านช่องทางใด ๆ ที่กำหนดไว้ในนโยบายและขั้นตอนการแจ้งเบาะแส

 

3. การประเมินความเสี่ยง

บริษัทต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นประจำปีเพื่อระบุ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงการติดสินบนและคอร์รัปชั่นภายในและภายนอกของหน่วยงานภายในบริษัทฯผลการประเมินความเสี่ยงจะกำหนดกระบวนการและการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ระบุไว้

 

4. หลักการ ข้อกำหนดเฉพาะเพื่อจัดการกับการติดสินบนและความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชั่น

4.1 การติดสินบน, การทุจริตคอร์รัปชั่น & การชำระเงินเพื่ออำนวยความสะดวก

บริษัทไม่อนุญาตให้รับข้อเสนอหรือใบเสร็จรับเงิน ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

4.2 การจ่ายเงินในภายใต้การบังคับขู่เข็ญ

ในกรณีพิเศษที่การจ่ายเงินภายใต้การบังคับขู่เข็ญอันเป็นผลโดยตรงจากความรุนแรงหรือภัยคุกคามต่อความปลอดภัยส่วนบุคคลของกรรมการหรือพนักงาน จะต้องรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวไปยัง Compliance และคณะกรรมการบริหารทันทีเพื่อพิจารณาเหตุการณ์ดังกล่าว และจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทในภายหลัง

4.3 การติดต่อกับบุคคลภายนอก  คู่สัญญา ผู้รับเหมา และลูกค้า

ในการจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัท โดยเคร่งครัดมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมข้อกำหนดการรับเหมาช่วงทุกที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทจะต้องทำการประเมิน on-boarding due diligence สำหรับ คู่สัญญา ผู้รับเหมารายใหม่ด้วย

4.4 การให้หรือมอบของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรองและผลประโยชน์

บริษัทมีนโยบายห้ามให้หรือมอบของขวัญ  ของกำนัล  รวมถึงผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในกรณีใดๆ  เพื่อจูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  หรืออาจทำให้เกิดการยินยอมผ่อนปรนในข้อตกลงทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ  จริยธรรมของกรรมการและจริยธรรมพนักงานของบริษัททุกระดับอย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจและเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่เหมาะสม การดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแนวทางการใช้จ่ายที่บริษัทกำหนด และพนักงานจะต้องกรอกแบบฟอร์มคำขอ Gift & Entertainment (GE)

4.5 การรับของขวัญ ของกำนัล หรือ การเลี้ยงรับรองและผลประโยชน์

บริษัทมีนโยบายห้ามรับหรือเลี้ยงรับรอง อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถปฏิเสธได้ ของขวัญที่ได้รับจะต้องถูกบันทึกไว้ในทะเบียน Gift & Entertainment (GE) โดยบริษัทอาจนำไปบริจาคองค์กรการกุศลหรือรับของขวัญให้เป็นทรัพย์สินของบริษัท ในส่วนการเลี้ยงรับรอง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจและเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่เหมาะสม หากมีการรับเลี้ยงรับรองเกิดขึ้น ให้พนักงานกรอกแบบฟอร์มคำขอ Gift & Entertainment (GE)

4.6 การบริจาคและการสนับสนุน

บริษัทมีนโยบายการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือนำมาใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบนคอร์รัปชั่น และดำเนินการกับองค์กรการกุศลที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

4.7 กิจกรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

บริษัทมีนโยบายให้ความสนับสนุนทางการเมืองตามที่กฎหมายอนุญาต และสนับสนุนประชาธิปไตยโดยรวม  โดยไม่มีนโยบายสนับสนุนทางการเมืองในการนำเงินทุนหรือทรัพยากรของบริษัทไปใช้สนับสนุนทางการเมืองให้แก่ผู้ลงสมัครแข่งขันเป็นนักการเมือง  หรือพรรคการเมืองใด  เพื่อการรณรงค์ทางการเมืองหรือการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง  ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม

4.8 การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ต้องหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้น

กรรมการและพนักงานต้อง:

  • ไม่รับผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆที่เกิดจากตำแหน่ง บทบาท หรือความสามารถในการจ้างงาน
  • ไม่ดำเนินการในนามของบริษัทในสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัทหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ และ
  • แจ้งให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลทราบถึงผลประโยชน์และสถานการณ์ใดๆ ที่ทราบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้นได้

4.9 การควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการร่วมทุน

บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเมื่อมีส่วนร่วมในการควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการร่วมทุน

4.10 การจ้างงาน

บริษัท กรรมการและพนักงานของบริษัทต้องไม่จัดให้มีการดำรงตำแหน่งกรรมการ โอกาสในการจ้างงาน หรือข้อเสนอที่คล้ายคลึงกันแก่บุคคลใดๆ รวมถึงบุคคลภายนอก คู่สัญญา ผู้รับเหมา หรือลูกค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ คู่สัญญา ผู้รับเหมา ลูกค้า หรือบุคคลภายนอก เพื่อจูงใจให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งธุรกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและต้องหลีกเลี่ยงการตัดสินใจจ้างงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้นได้

 

5. การติดตามและบังคับใช้

5.1 ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน จะต้องติดตามตรวจสอบกระบวนการและการควบคุมในกระบวนงานเป็นประจำ และสร้างแนวทางการทดสอบเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานความถี่ในการติดตามและการทดสอบต้องสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นและต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับการระบุ

5.2 การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดจากการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นและการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น จะต้องจัดรายงานแก่ คณะกรรมการบริหาร, คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทในลักษณะที่เหมาะสมและทันเวลาเพื่ออำนวยความสะดวกในการกำกับดูแลและติดตามประสิทธิภาพของกระบวนการและการควบคุมที่มีอยู่ และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของนโยบายและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

5.3 การจัดเก็บเอกสาร

เอกสารต้องเก็บไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 ปีและจัดเก็บอย่างเหมาะสมเพื่อให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบเมื่อจำเป็น

5.4 การรายงานหรือรับแจ้งข้อมูลเบาะแส

สามารถร้องเรียนการกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็นการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นกับบริษัท โดยทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และการร้องเรียนห้ามส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้แจ้งเบาะแสโดยเด็ดขาด การรายงานเหตุการณ์การติดสินบนหรือการทุจริตคอร์รัปชั่นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและทันท่วงที โดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน พร้อมหลักฐาน หรือข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ และแจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ ส่งมายังช่องทางรับเรื่องดังนี้โดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน พร้อมหลักฐาน หรือข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ และแจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ ส่งมายังช่องทางรับเรื่องดังนี้

ช่องทางการแจ้งเบาะแส Whistleblowing

  1.  Email: whistleblowing@maybank-ke.co.th
  2.  จดหมาย: Compliance Department, Maybank Kim Eng Securities (Thailand) Public Company Limited, 999/9 The Offices at Central World 20th - 21st Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Bangkok 10330, Thailand

บุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น คือ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ ภาครัฐบาล ชุมชน สังคม ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะแจ้งด้วยวิธีใดดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทั้งสิ้น

 

6. การฝึกอบรม

บริษัทให้ความสำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถนำมาใช้พัฒนางานในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   โดยมีโปรแกรมการฝึกอบรมและความตระหนักเพื่อให้ความรู้แก่กรรมการและพนักงาน ดังนี้

  • กรรมการและพนักงานต้องดำเนินการฝึกอบรมการต่อต้านการติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นให้เสร็จสิ้นซึ่งเหมาะสมกับบทบาท สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และประเทศของตนอย่างทันท่วงที
  • กรรมการและพนักงานต้องได้รับการประเมินตามความเข้าใจในนโยบายและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่นและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหลังจากเข้าร่วมการฝึกอบรม
  • ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานต้องติดตามการเข้าฝึกอบรมของกรรมการและพนักงาน ผลการประเมิน และประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของการฝึกอบรมอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงเป็นปัจจุบันและบรรลุวัตถุประสงค์หลัก